วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

Recorded Diaryครั้งที่ 2 ประจำวันศุกร์ ที่ 22.01.59

                    




                                        1. The knowledge gained (ความรู้ที่ได้รับ)


                         





  • เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ( Children With Special Need  )
  • เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ








1.มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า " เด็กพิการ "
หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติมีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ 

2.ทางการศึกษา หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล


พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านใดด้านหนึ่งอาจจะส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้


ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.พันธุกรรม
2.โรคของระบบประสาท
3.การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6.สารเคมี
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8.สาเหตุอื่นๆ

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 

  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า1ด้าน
  • ปฎิกิริยาสะท้อน (Primitive Reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป


แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การชักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฎิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

การประเมินที่ใช้ในเวชปฎิบัติ

  • แบบทดสอบ Denver II
  • Gesell Drawing Test
  • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุแรกเกิด -5 สถาบันราชานุกูล





 2.ทักษะ (skill)

                                                   

  •    การสืบค้นหาข้อมูลสำหรับเด็กปฐมวัย 
  •    ทีสามารถนำมาปรับใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้    


**ทำกิจกรรมหลังการเรียน**
วัดระดับไอคิวตั้งแต่ ชั้นป.1 - ป.6














  3.การนำไปใช้ (Application)

 
นำไปใช้ในเวลาจะออกแบบการสอน และนำไปพัฒนาด้านสติปัญญารของเด็กให้ดียิ่งขึ้น

และวางแผนมาอย่างระบบในการที่จะสอนในแต่ละครั้ง



 4.assessment (ประเมิน)

ประเมินตัวเอง เเต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินพื่อน  
เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย ตอบคำถามในห้องอย่างสนุกสนาน 
ทุกคนมีส่วนร่วมกับการเรียน

ประเมินห้องเรียน ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การเรียนครบ

ประเมินอาจารย์  แต่งกายสุภาพ  บรรยายในเนื้อหาเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน สอนสนุก








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น